“พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง” วัดมหาวนาราม หรือ วัดป่าใหญ่ อุบลราชธานี อีกแหล่งท่องเที่ยวอุบลราชธานี
ประวัติพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี ใครมาอุบลราชธานีต้องแวะกราบไว้สักการะขอพร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี เดิมมีชื่อว่า “วัดป่าหลวงมณีโชติศรีสวัสดิ์” ภายหลังเรียกว่า “วัดป่าใหญ่”
และต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดมหาวนาราม” ตามสมัยนิยม นับว่ามีความสำคัญยิ่งในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดี มาเป็นเวลายาวนานกว่า 200 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นพระอารามที่ประดิษฐาน
พระเจ้าใหญ่อินแปลง พระพุทธรูป คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดอุบลราชธานี
รายละเอียดพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงเป็น พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร งดงามด้วยพุทธศิลป์แบบล้านช้าง โดยองค์พระเป็นปูนปั้นที่เรียกว่า ปูนชะทายคือการใช้ดินโพนผสมกันกับกาวหน้า แล้วนำมาโบกคล้ายกับซีเมนต์ จึงนำมาลงรักปิดทอง ตามความเชื่อสมัยก่อนนั้นว่า พระอินทร์ได้จำแลงแปลงกายเป็นชีปะขาวลงมาปั้นแต่งพระพักตร์ ชาวบ้านจึงได้ถวายนามว่า พระเจ้าอินแปง เพราะงดงามดั่งพระอินทร์มาเนรมิตร
จากหลักฐานศิลาจารึกวัดป่าใหญ่ ผู้สร้างพระพุทธรูปพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง คือ ท่านพระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจกันสร้างแล้วเสร็จ ทำพิธีพุทธาพิเษก และเบิกเนตรแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 จ.ศ.1169 ปีเมิงเหม้า ตรงกับ พ.ศ.2350 นพศก เมื่อยามแถใกล้ค่ำ (ประมาณ 15.00-16.30 น.) เจ้าเมืองอุบลในขณะนั้นคือ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ เป็นเจ้าเมืองคนที่ 2 ซึ่งได้มาสร้างวิหารในวัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2348 และมาแล้วเสร็จในปีเดียวกันนี้ ด้วย
หลังจากสร้างวิหารได้ 2 ปี จุลศักราชได้ 189 ตัว (พ.ศ.2350) ได้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดประจำเจ้าเมืองคนที่สอง และในปีเดียวกัน พระมหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา จึงได้นำพาศิษยานุศิษย์ ก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ประธานในวิหารและขนานนามว่า “พระเจ้าอินแปง” พร้อมกับนำดินทรายเข้าวัด
แกลลอรี่ภาพ พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง
ภาพ : นัฐธกิตติ์ กะตะนารี
ขอบคุณข้อมูลจาก : ไกด์อุบลดอทคอม